วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พรปีใหม่


















content.php.gif


ความหมายของวันขึ้นปีใหม่

          ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่างๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุกๆ 4 ปี
















ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย

          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น 
แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนาที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

          แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ.2432 (ร.ศ.108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่

          ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ 
"วันตรุษสงกรานต์"


                                 ปีใหม่ วันปีใหม่

เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม
          ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ

           เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
           เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ
           ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
           เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก




พรปีใหม่ใส่พานจากบ้านสวน

พร...ระริน สิ้นทุกข์พบสุขสันต์
ปี...เก่าพลันหมดไปใจสุขี
ใหม่...ผ่านมาจงอุ่นอบพบสิ่งมี
ใส่...โชคดีปีใหม่สดใสพลัน
พาน...พบสิ่งแสนดีไม่มีหมอง
จาก...พี่น้องร่วมใจในร้อยฝัน
บ้าน...รวมรักถักถ้อยร้อยจำนรร
สวน...สร้างสรรสิ่งดีปีใหม่เทอญ
พร...พิพัฒน์สวัสดีขึ้นปีใหม่
ปี...แห่งไก่ไคลคลาเปลี่ยนราศี
ใหม่...คือจอต่อเติมเสริมสิ่งดี
ใส่...มั่งคั่งมั่งมีให้ชีวา

พาน...พบเศร้าเร้ารุมกลัดกลุ้มหาย
จาก...ชั่วร้ายกลายดีมีทั่วหน้า
บ้าน...คนสวนก๊วนรักพรรคคุณตา
สวน...กระแสอ่อนล้าขึ้นท้าทาย

ถึง...อยู่ห่างต่างแดนกลอนแทนสื่อ
มิตร...ภาพนั้นหรือไม่ซื้อขาย
มวล...ไมตรีคลี่ห่มคำคมคาย
นัก...กลอนร่ายระบำเรียงดั่งเสียงเพลง

กวี...หมายปลายฝันคือสันติ
ที่...พร้อมผลิตระการดอกบานเบ่ง
ร้อย...หยาดทิพย์หยิบยื่นความครื้นเครง
ฝัน...อยากเก่งกล่อมโลกให้โชคดี

จง...เป็นสุขทั่วหน้าคราปีใหม่
เป็น...แรงใจให้กันสร้างสันสี
สุข...จงล้อมพร้อมครอบครัวทั่วกวี
ทุกข์...ที่มีหายหดหมดเคราะห์กรรม

หาย...ภยันตรายคลายวิโยค
มลาย...โศกกังวลที่ยลย่ำ
พลัน...โชคดีมีเห็นเป็นประจำ
ประสบ...สัมฤทธิ์ดังที่ตั้งใจ

สันติ...จะเกิดมีกวีสร้าง
สุข...เพราะต่างกวีฝันแบ่งปันให้
ทุกถิ่น...ฐานขานกู่รับรู้นัย
ไทย...เป็นไทยส่วนหนึ่งได้พึ่งกลอน
อัญเชิญเทพบนสวรรค์ทุกชั้นฟ้า
ประสิทธิ์สถาพรชัยให้สุขศรี
ขอให้ชาวร้อยฝันทุกท่านมี
สุขเกษมเปรมปรีดิ์ทุกวี่วัน

สรรพโศกโรคร้ายให้หายหมด
เกียรติยศพร้อมพรั่งบันดาลขวัญ
เกียรติศักดิ์พูนเพิ่มเสริมชีวัน
สบสุขสันต์วันดีปีใหม่เทอญ

My I Dol

ไฟล์-Worrawech_Danuwong_.jpg

ชื่อจริงวรเวช ดานุวงศ์
ชื่อเล่นแดน
วันเกิด16 พฤษภาคม พ.ศ. 2527(อายุ 26 ปี)
สุพรรณบุรี ประเทศไทย
แนวเพลงป๊อป
อาชีพนักร้องนักแสดง
ปีพ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน (นักร้อง)
ค่ายอาร์เอส (พ.ศ. 2544 - 2551)โซนี่ มิวสิค (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)
ส่วนเกี่ยวข้องดีทูบี
ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ (บิ๊ก)กวี ตันจรารักษ์ (บีม)

วรเวช ดานุวงศ์ หรือ แดน เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัว โดยมีพี่ชาย 1 คน
ชื่อ "วรเวช" แปลว่า "หมอผู้ประเสริฐ" คุณพ่อ(วิจารณ์ ดานุวงศ์)ตั้งให้เพราะอยากให้ลูกชายเป็นหมอ แต่ภายหลังเปลี่ยนใจอยากเป็นนักร้อง จึ่งฝึกฝนด้วยการเริ่มเล่นดนตรีไทย เข้าวงโยธวาทิต และร้องเพลง[1] แดน มีความสามารถพิเศษ เล่นเครื่องดนตรีหลายชนิด เช่น กีต้าร์ คีย์บอร์ด กลองโฟร์ทอม กลองใหญ่ กลองแทร๊ก และขลุ่ย มีความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะ (ได้ที่ 3 ของประเทศ) เคยตระเวนแข่งขันร้องเพลงทั้งลูกทุ่ง ลูกกรุง และสตริง ตามเวทีต่างๆ จนกระทั่งมาถึงเวที "สตาร์ ชาเลนจ์" ซึ่ง อาร์เอส ร่วมมือกับ พานาโซนิค เพื่อเฟ้นหาศิลปินหน้าใหม่มาประดับวงการ
แดน เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิง ภายหลังจากการประกวดร้องเพลงในโครงการ "พานาโซนิค สตาร์ ชาเลนจ์" ในปี พ.ศ. 2543 ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันระดับประเทศ (ที่ 3 ของประเทศ) และได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด อาร์เอส โปรโมชั่น ต่อมาไม่นาน แดน ก็ถูกชวนให้มาร้องเพลงประกอบโฆษณาเป๊ปซี่ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ค่ายอาร์เอสกำลังคัดสรรเด็กหนุ่มมาฟอร์มทีมบอยแบนด์กลุ่มใหม่ และในที่สุด แดน ก็ถูกเรียกมาเทสต์เสียง จนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของดีทูบี ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ออกอัลบั้มเพลง ร่วมกับ บิ๊ก-อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ และ บีม-กวี ตันจรารักษ์ ในนามวง ดีทูบี โดยมีผลงานออกมาหลายอัลบั้ม จนกระทั่งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 "บิ๊ก" หนึ่งในสมาชิกวงดีทูบี ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเป็นเจ้าชายนิทรา วงดีทูบีจึ่งได้ถูกยุบลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 แดน และ บีม ได้ออกผลงานเพลงในนามนักร้องดูโอ "แดน-บีม" โดยมีผลงานอัลบั้มเพลงออกมา 4 ชุด โดยอัลบั้มสุดท้ายก่อนที่จะแยกกัน คือ อัลบั้มพิเศษ DB2B ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายอัลบั้มนี้ นำไปมอบให้ครอบครัว "กิตติกรเจริญ"
ภายหลังเมื่อสัญญากับสังกัดอาร์เอสสิ้นสุดลง ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 แดน จึงได้ย้ายมาเป็นศิลปินในสังกัดค่ายโซนี่ มิวสิค โดยเซ็นสัญญาเป็นเวลา 5 ปี[2] และมีผลงานอัลบั้มเพลงในฐานะศิลปินเดี่ยวครั้งแรก คือ อัลบั้มบลู[3]

การศึกษา

ชอบเพราะ  น่ารัก เป็นคนดี แร้วก็ตั้งใจทำงาน

วันรัฐธรรมนูญ

 วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี 
ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ 
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 
ประวัติความเป็นมา 

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

           หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ 
          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล 


          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ 
วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้ 

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ 

ถวายพระพร

coverpage1.jpg

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทดสอบการสร้างบล็อก

วันนี้  22  พฤศจิกายน ได้เรียนรู้เรื่องการสร้างบล็อก และได้สร้างบล็อกของตัวเองแร้วจร้า  ครูได้สอนเรื่องการแก้ไขข้อมูลด้วย การเขียนบทความด้วย ขอบคุณ คุณครูมากๆๆน้าคะที่ช่วยสอนให้ทำบล็อกค่ะ